เมนู

4. ธัมมัญญูสูตร


[65] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
7 ประการ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มี
นาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม 7 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม 1 อัตถัญญู รู้จัก
อรรถ 1 อัตตัญญู รู้จักตน 1 มัตตัญยู รู้จักประมาร 1
กาลัญญู รู้จักกาล 1 ปริสัญญู รู้จักบริษัท 1 ปุคคลโรปรัญญู
รู้จักเลือกคบคน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือสุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุ
ไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ... เวทัลละ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น
ธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ.... เวทัลละ ฉะนั้นเรา
จึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้.
ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จัก
เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ
หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความ
แห่งภาษิตนี้ ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู แต่เพราะภิกษุ
รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ
ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู
ด้วยประการฉะนี้.

ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
รู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ
เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่พึงรู้จักตนว่า เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู
แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู
ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้.
ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จัก
ประมาณในการรับ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น
มัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต
เสนาสะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
เป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู
ด้วยประการฉะนี้.
ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จัก
กาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบ
ความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า
นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นการประกอบความเพียร
นี้เป็นการหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู แต่เพราะ
ภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาล
ประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า

เป็นกาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู
กาลัญญู ด้วยประการฉะนี้.
ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
รู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ
ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้
พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์... พึง
นิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จัก
บริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์... พึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้น เราเรียกว่า
เป็นปริสัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู
กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้.
ก็ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน 2 คือ บุคคล 2 จำพวก คือ พวกหนึ่ง
ต้องการเห็นพระอริยะ พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคล
ที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคล
ที่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ
บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการ
จะฟังสัทธรรม พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลที่ไม่ต้อง
การฟังสัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ต้องการ
ฟังสัทธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่
ต้องการฟังสัทธรรมก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม
พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูกติเตียน

ด้วยเหตุนั้น บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ
ด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่ง
ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ บุคคล
ที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคล
ที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ
บุคคลที่ฟ้งแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณา
เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่
ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ
บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี 2 จำพวก
คือ พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่
บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ พึง
ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคล
ที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี 2 จำพวก
คือ พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์
ของผู้อื่น พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์
ผู้อื่น บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์
ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์
ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน 2 ฉะนี้แล
ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญู อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ
เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
จบ ธัมมัญญูสูตรที่ 4

อรรถกถาธัมมัญญูสูตรที่ 4


ธัมมัญญูสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กาลํ ชานาติ ความว่า ย่อมรู้จักกาลอันควรที่มาถึงแล้ว
บทว่า อยํ กาโล อุทฺเทสสฺส ความว่า นี้เป็นเวลาเรียนพระพุทธ
วจนะ. บทว่า ปริปุจฺฉาย ความว่า เป็นเวลาสงบถามถึงสิ่งที่เป็น
ประโยชน์และไม่เป็นปรโยชน์ เหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า โยคสฺส
ความว่า เพื่อใส่กิจกรรมในการประกอบความเพียร. บทว่า ปฏิสลฺ-
ลานสฺส
ความว่า เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่ออยู่ผู้เดียว. บทว่า ธมฺมานุธมฺม-
ปฏิปนฺโน
ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น อันเป็น
ธรรมสมควร แก่โลกุตตรธรรม 9. คำว่า อวํ โข ภิกฺขุ ปุคฺคล-
ปโรปรญฺญู โหติ
ความว่า ภิกษุย่อมเป็นผู้สามารถรู้จักความยิ่ง
และหย่อน คือความกล้าแข็งและอ่อนแอของบุคคลทั้งหลาย ด้วย
ประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาธัมมัญญูสูตรที่ 4